บทที่ 3 ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา

ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา




แผ่นดินไหว
- เมื่อแผ่นธรณีกระทบกัน แรงกดดันหรือแรงเสียดทานจะทำให้หินที่บริเวณขอบของแผ่นธรณีเกิดความเค้นและความเครียด สะสมพลังงานไว้ภายใน เมื่อหินแตกหรือหักก็จะปลดปล่อยพลังงานออกมา ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนเป็นแผ่นดินไหว
- แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณี
       แผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน
- ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเบาที่ระดับตื้น
- ลึกจากพื้นผิวน้อยกว่า 70 กิโลเมตร
       แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน
- ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ระดับลึก
- 300 – 700 กิโลเมตร
       แผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกัน
รอยต่อของแผ่นธรณี เช่น เขตมุดตัวในวงแหวนไฟ (Ring of fire) รอบมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณหมู่เกาะญี่ปุ่น หมู่เกาะฟิลิปปินส์ หมู่เกาะแปซิฟิกใต้ และชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้
- แผ่นดินไหวยังเกิดขึ้นที่บริเวณจุดร้อน (Hot spot) ที่ซึ่งหินหนืดร้อนลอยตัวขึ้นจากเนื้อโลกตอนล่างแล้วทะลุเปลือกโลกขึ้นมากลายเป็นภูเขาไฟรูปโล่
 คาบอุบัติซ้ำ ระยะเวลาครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้นแล้วกลับมาเกิดซ้ำในที่เดิมอีก ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้มีแนวทางที่สามารถพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตได้
 คลื่นไหวสะเทือน คือ การที่ชั้นหินในเปลือกโลกเคลื่อนตัวทำให้ชั้นหินกระทบกัน
 ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว คือ จุดกำเนิดของคลื่นไหวสะเทือน
 จุดเหนือศูนย์แผ่นดินไหว คือ ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดกำเนิดแผ่นดินไหว
- แผ่นดินไหวจะเกิดคลื่นไหวสะเทือน 2 แบบ

       คลื่นในตัวกลาง
 ผ่านเข้าไปในเนื้อโลกในทุกทิศทาง มี 2 ชนิด
  • คลื่นปฐมภูมิ (P wave) คลื่นตามยาว
  • คลื่นทุติยภูมิ (S wave) คลื่นตามขวาง
                 คลื่นพื้นผิว
  เดินทางจากจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) ไปทางบนพื้่นผิวโลก มี 2 ชนิด


                 คลื่นเลิฟ (L wave)
- คลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวราบ
- มีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น
- ทำให้ถนนขาดหรือแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล


                 คลื่นเรย์ลี (R wave)
- คลื่นที่ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น ม้วนตัวขึ้นลงเป็นรูปวงรี ในแนวดิ่ง
- มีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น
- ทำให้พื้นผิวแตกร้าว และเกิดเนินเขา ทำให้อาคารที่ปลูกอยู่ด้านบนเกิดความเสียหาย

 
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว
  มาตราเมอร์คัลลี
  1.  มนุษย์ไม่รู้สึก ตรวจวัดได้เฉพาะเครื่องมือ
  2.  รู้สึกได้เฉพาะกับผู้ที่อยู่นิ่งกับที่ สิ่งของแกว่งไกวเล็กน้อย
  3.  คนอยู่ในบ้านรู้สึกได้เหมือนรถบรรทุกแล่นผ่าน
  4.  คนส่วนใหญ่รู้สึกได้เหมือนรถบรรทุกแล่นผ่าน
  5.  ทุกคนรู้สึกได้ สิ่งของขนาดเล็กเคลื่อนที่
  6.  คนเดินเซ สิ่งของขนาดใหญ่เคลื่อนที่
  7.  คนยืนนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ อาคารเสียหายเล็กน้อย
  8.  อาคารเสียหายปานกลาง
  9.  อาคารเสียหายอย่างมาก
  10.  อาคารถูกทำลายพร้อมฐานราก
  11.  แผ่นดินแยกถล่มและเลื่อนไหล สะพานขาด รางรถไฟบิดงอ ท่อใต้ดินชำรุดเสียหาย
  12.  สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดถูกทำลาย พื้นดินเป็นลอนคลื่น

ขนาดของแผ่นดินไหว
       มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวของริกเตอร์


ขนาดแผ่นดินไหว (ริกเตอร์)         ประเภท 

       < 3.0              แผ่นดินไหวขนาดเล็กมาก  
    3.0 - 3.9            แผ่นดินไหวขนาดเล็ก  
    4.0 - 4.9            แผ่นดินไหวขนาดค่อนข้างเล็ก  
    5.0 - 5.9            แผ่นดินไหวขนาดปานกลาง  
    6.0 - 6.9            แผ่นดินไหวขนาดค่อนข้างใหญ่  
    7.0 - 7.9            แผ่นดินไหวขนาดใหญ่  
        > 8.0             แผ่นดินไหวใหญ่มาก


 
 
ภูเขาไฟระเบิด
- ภูเขาไฟเกิดจากการยกตัวของแมกมาใต้เปลือกโลก
- แมกมามีอยู่แบริเวณที่รอยต่อของแผ่นธรณีบางชนิด และบริเวณจุดร้อนของโลก

ประเภทของภูเขาไฟ ตามลักษณะทางกายภาพได้ 4 ประเภท

       ที่ราบสูงลาวา
                   เกิดจากแมกมาบะซอลต์แทรกตัวขึ้นมาตามรอยแตกของเปลือกโลกแล้วกลายเป็นลาวาไหลท่วมบนพื้นผิว ลาวาเย็นตัวลงก็จะกลายเป็นที่ราบสูงลาวาขนาดใหญ่ประมาณ 100,000 ถึง 1,000,000 ตารางกิโลเมตร
ตัวอย่าง
- เกาะสกาย ประเทศอังกฤษ


       ภูเขาไฟรูปโล่
                   เกิดขึ้นจากแมกมาบะซอลต์ที่มีความหนืดสูง ไหลออกมาฟอร์มตัวเป็นที่ราบสูงลาวา ความหนืดทำให้แมกมาก่อตัวเป็นภูเขาไฟขนาดใหญ่และอาจสูงได้ถึง 9,000 เมตร แต่มีลาดชันเพียง 6 - 12 องศา
ตัวอย่าง
- ภูเขาไฟมอนาคีบนเกาะฮาวาย ที่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก


       กรวยกรวดภูเขาไฟ
                   เป็นภูเขาไฟขนาดเล็กมาก สูงประมาณ 100 - 400 เมตร ความลาดชันปานกลาง ภูเขาไฟแบบนี้ไม่มีธารลาวาซึ่งเกิดขึ้นจากแมกมาไหล แต่จะมีลักษณะเป็นกรวดกลมๆ พุ่งออกมาจากปากปล่อง แล้วกองสะสมกัน
ตัวอย่าง
- กรวยภูเขาไฟในรัฐโอรีกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา
 
       ภูเขาไฟกรวยสลับชั้น
                   เป็นภูเขาไฟขนาดปานกลาง มีรูปทรงสวยงามเป็นรูปกรวยคว่ำ สูงประมาณ 100 เมตร ถึง 3,500 เมตร เกิดขึ้นจากแผ่นธรณีมหาสมุทรที่หลอมละลายเป็นแมกมา แล้วยกตัวขึ้นดันเปลือกโลกขึ้นมาเป็นแนวภูเขาไฟรูปโค้ง เมื่อเกิดการระเบิด จะมีความรุนแรงสูงและก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
ตัวอย่าง
- ภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น
- ภูเขาไฟพินาตูโบ ประเทศฟิลิปปินส์
- ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
 
       ประโยชน์ของภูเขาไฟ
- ภูเขาไฟระเบิดหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรธรณีแปรสัณฐาน ซึ่งหมุนเวียนธาตุอาหารให้แก่ผิวโลก
- ดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินภูเขาไฟ มีความอุดมสมบูรณ์สูงใช้ปลูกพืชพรรณได้งอกงาม
- แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งปล่อยออกมาจากปล่องภูเขาไฟ ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์ธาตุอาหารด้วยแสง

ความคิดเห็น