บทที่ 4 ธรณีประวัติ
ธรณีประวัติ
การลำดับขั้นหิน
ลำดับชั้นหิน คือ การเรียงตัวทับถมกันของตะกอนที่ตกทับถม ณ ที่แห่งหนึ่งในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งมักพบว่าชนิดของตะกอนจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ขึ้นกับสภาพแวดล้อมในอดีตช่วงนั้น เช่น ยุคแคมเบรียนจะสะสมตัวหินทราย หินทรายแป้งและค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหินดินดาน หินปูนในยุคออร์โดวิเชียน เป็นต้น
อายุของหิน ก็คือช่วงเวลาที่ตะกอนหรือลาวาตกสะสมตัวหรือกำลังแข็งตัวหรือจับตัวเช่น ดินสะสมตัวในทะเลสาบเมื่อประมาณ 260 ล้านปี เมื่อจับตัวเป็นหินและคงอยู่ถึงปัจจุบัน เราก็บอกว่าหินนี้มีอายุ 260 ล้านปีที่ผ่านมา สำหรับวิธีศึกษาหาอายุก็ใช้ทั้งค่าอัตราส่วนการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีหรือซากดึกดำบรรพ์ในช่วงนั้นที่เผอิญตายพร้อมๆ กับการตกของตะกอน
ภาพแสดง การลำดับอายุของชั้นหินที่มีอายุมากที่สุดจะอยู่ด้านล่าง ขึ้นไปสู่อายุหินน้อยที่ด้านบน
ที่มา : http://photos1.blogger.com/blogger/6864/3170/1600/layer1.2.gif
ประโยชน์ของการใช้ข้อมูลธรณีวิทยา ธรณีวิทยาถือว่าเป็นการศึกษาธรรมชาติ โลกที่เราเหยียบ อาศัยอยู่ ซึ่งถ้าเข้าใจมันทั้งหมด เราก็สามารถใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและหลีกเลี่ยงภัยธรรมชาติได้ คุณหาทรัพยากร เชื้อเพลิงไม่ได้ ถ้าไม่รู้ธรณีวิทยา คุณหาแหล่งที่อาศัย สถานที่ ที่มั่นคงต่อชีวิตไม่ได้ถ้าไม่รู้ธรณีวิทยา (เหมือนการไปสร้างบ้านในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากก็เพราะไม่เข้าใจธรรมชาติทางธรณีวิทยา ) และที่สำคัญก็คือวิชานี้เป็นวิชาศึกษาโลก ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของมนุษย์
อายุของหินบนเทือกเขากลางมหาสมุทร เนื่องจากหินตรงนี้เป็นหินอัคนีประเภทบะซอลต์เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นต้องหาอายุโดยใช้การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีเท่านั้น รู้สึกว่าตัวหลังๆ เขาใช้ AR-AR กันนะ อายุได้ตั้งแต่ 160 ล้านปีถึงปัจจุบัน
ภาพแสดง การเกิดหินต่างๆ
ที่มา :http://www.panyathai.or.th/wiki/images/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8E%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99.JPG
หิน (Rock) หมายถึง มวลของแข็งที่ประกอบขึ้นด้วยแร่ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 3 ชนิดใหญ่
1. หินอัคนี (Igneous Rock)
เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกแทรกดันขึ้นมาแล้วตกผลึกเป็นแร่ต่างๆ และเย็นตัวลงจับตัวแน่นเป็นหินที่ผิวโลก แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
- หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive Igneous Rock) เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ของหินหนืดใต้เปลือกโลก มีผลึกแร่ขนาดใหญ่ (>1 มิลลิเมตร) เช่นหินแกรนิต (Granite) หินไดออไรต์ (Diorite) หินแกบโบร (Gabbro)
- หินอัคนีพุ (Extruisive Igneous Rock) หรือหินภูเขาไฟ (Volcanic Rock) เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วของหินหนืดที่ดันตัวพุออกมานอกผิวโลกเป็นลาวา (Lava) ผลึกแร่มีขนาดเล็กหรือไม่เกิดผลึกเลยเช่น หินบะซอลต์ (Basalt) หินแอนดีไซต์ (Andesite) หินไรโอไลต์ (Rhyolite)
ภาพแสดง หินแกรนิต แสดงลักษณะทั่วไป และผลึกแร่ในเนื้อหิน
2. หินชั้นหรือหินตะกอน (Sedimentary Rock)
เกิดจากการทับถม และสะสมตัวของตะกอนต่างๆ ได้แก่ เศษหิน แร่ กรวด ทราย ดินที่ผุพังหรือสึกกร่อนถูกชะละลายมาจากหินเดิม โดยตัวการธรรมชาติ คือ ธารน้ำ ลม ธารน้ำแข็งหรือคลื่นในทะเล พัดพาไปทับถมและแข็งตัวเป็นหินในแอ่งสะสมตัวหินชนิดนี้แบ่งตามลักษณะเนื้อหินได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ- หินชั้นเนื้อประสม (Clastic Sedimentary Rock) เป็นหินชั้นที่เนื้อเดิมของตะกอน พวกกรวด ทราย เศษหินและดิน ยังคงสภาพอยู่ให้พิสูจน์ได้ เช่น หินทราย (Sandstone) หินดินดาน (Shale) หินกรวดมน (Conglomerate) เป็นต้น
- หินเนื้อประสาน (Nonclastic Sedimentary Rock) เป็นหินที่เกิดจากการตกผลึกทางเคมี หรือจากสิ่งมีชีวิต มีเนื้อประสานกันแน่นไม่สามารถพิสูจน์สภาพเดิมได้ เช่น หินปูน (Limestone) หินเชิร์ต (Chert) เกลือหิน (Rock Salte) ถ่านหิน (Coal) เป็นต้น
ภาพแสดง หินทรายแสดงชั้นเฉียงระดับ
ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/images/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99.JPG
ภาพแสดง ชั้นหินทรายสลับชั้นหินดินดาน
ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/images/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2.JPG
ภาพแสดง หินกรวดมน
ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/images/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%99.JPG
ภาพแสดง ชั้นหินปูน
ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/images/%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%99.JPG
ภาพแสดง ชั้นหินเชิร์ต
เกิดจากการแปรสภาพโดยการกระทำของความร้อน ความดันและปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้เนื้อหิน แร่ประกอบหินและโครงสร้างเปลี่ยนไปจากเดิม การแปรสภาพของหินจะอยู่ในสถานะของของแข็ง ซึ่งจัดแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- การแปรสภาพบริเวณไพศาล (Regional metamorphism) เกิดเป็นบริเวณกว้างโดยมีความร้อนและความดันทำให้เกิดแร่ใหม่หรือผลึกใหม่เกิดขึ้น มีการจัดเรียงตัวของแร่ใหม่ และแสดงริ้วขนาน (Foliation) อันเนื่องมาจากแร่เดิมถูกบีบอัดจนเรียงตัวเป็นแนวหรือแถบขนานกัน เช่น หินไนส์ (Gneiss) หินชีสต์ (Schist) และหินชนวน (Slate) เป็นต้น
- การแปรสภาพสัมผัส (Contact metamorphism) เกิดจากการแปรสภาพโดยความร้อนและปฏิกิริยาทางเคมีของสารละลายที่ขึ้นมากับหินหนืดมาสัมผัสกับหินท้องที่ ไม่มีอิทธิพลของความดันมากนัก ปฏิกิริยาทางเคมีอาจทำให้ได้แร่ใหม่บางส่วนหรือเกิดแร่ใหม่แทนที่แร่ในหินเดิม หินแปรที่เกิดขึ้นจะมีการจัดเรียงตัวของแร่ใหม่ ไม่แสดงริ้วขนาน (Nonfoliation) เช่น หินอ่อน (Marble) หินควอตไซต์ (Quartzite)
ภาพแสดง หินแปร
ภาพแสดง หินไนส์ (Gneiss)
ภาพแสดง หินอ่อน (Marble)
ภาพแสดง หินอ่อน (Marble)
วัฏจักรของหิน
วัฏจักรของหิน (Rock cycle) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของหินทั้ง 3 ชนิด จากหินชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งหรืออาจเปลี่ยนกลับไปเป็นหินชนิดเดิมอีกก็ได้ กล่าวคือ เมื่อ หินหนืด เย็นตัวลงจะตกผลึกได้เป็น หินอัคนีเมื่อหินอัคนีผ่านกระบวนการผุพังอยู่กับที่และการกร่อนจนกลายเป็นตะกอนมีกระแสน้ำลมธารน้ำแข็งหรือคลื่นในทะเลพัดพาไปสะสมตัวและเกิดการแข็งตัวกลายเป็นหิน อันเนื่องมาจากแรงบีบอัดหรือมีสารละลายเข้าไปประสานตะกอนเกิดเป็นหินชั้นขึ้นเมื่อหินชั้นได้รับความร้อนและแรงกดอัดสูงจะเกิดการแปรสภาพกลายเป็นหินแปรและหินแปรเมื่อได้รับความร้อนสูงมากจนหลอมละลาย ก็จะกลายสภาพเป็นหินหนืด ซึ่งเมื่อเย็นตัวลงก็จะตกผลึกเป็นหินอัคนีอีกครั้งหนึ่งวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไปเป็นวัฏจักรของหิน กระบวนการเหล่านี้อาจข้ามขั้นตอนดังกล่าวได้ เช่น จากหินอัคนีไปเป็นหินแปร หรือจากหินแปรไปเป็นหินชั้น
ภาพแสดง วัฏจักรของหิน
ที่มา :http://www.panyathai.or.th/wiki/images/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%991.JPG
อายุทางธรณีวิทยา
3.1 อายุทางธรณีวิทยา
โดยทั่วไปอายุทางธรณีวิทยาแบ่งเป็น 2 แบบ คือ อายุเปรียบเทียบและอายุสัมบูรณ์ ซึ่งมีวิธีการศึกษาต่างกัน
อายุเปรียบเทียบ (relative age) เป็นอายุหินเปรียบเทียบซึ่งบอกว่าหินชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากัน อายุเปรียบเทียบหาได้โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ทรายอายุ ลักษณะและลำดับของหินชนิดต่างๆ และลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหิน แล้วนำมาเปรียบเทียบทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า ธรณีกาล (geologic time) ดังภาพ 3.4 ก็จะสามารถบอกอายุของหอนที่เราศึกษาได้ว่าเป็นหินในยุคไหน หรือ ช่วงอายุ เป็นเท่าใด
อายุสัมบูรณ์ (absolute age) เป็นอายุหินหรือซากดึกดำบรรพ์ ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน การหาอายุสัมบูรณ์ใช้วิธีคำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหิน หรือซากดึกดำบรรพ์ที่ต้องการศึกษา ธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมนำมาหาอายุสัมบูรณ์ ได้แก่ ธาตุคาร์บอน-14 ธาตุโพแทสเซียม-40 ธาตุเรเดียม-226 ธาตุยูเรเนียม-238 เป็นต้น การหาอายุสัมบูรณ์มักใช้กับหินที่มีอายุมากเป็นแสนเป็นล้านปี เช่น หินแกรนิตบริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ซึ่งเคยเป็นหินต้นกำเนิดแร่ดีบุกมีอายุสัมบูรณ์ประมาณ 100 ล้านปี ส่วนตะกอนซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่า 50,000 ปี มักใช้วิธีกัมมันตรังสีคาร์บอน-14 เช่น ซากหอยนางรมที่วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีมีอายุประมาณ 5,500 ปี
โดยทั่วไปอายุทางธรณีวิทยาแบ่งเป็น 2 แบบ คือ อายุเปรียบเทียบและอายุสัมบูรณ์ ซึ่งมีวิธีการศึกษาต่างกัน
อายุเปรียบเทียบ (relative age) เป็นอายุหินเปรียบเทียบซึ่งบอกว่าหินชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากัน อายุเปรียบเทียบหาได้โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ทรายอายุ ลักษณะและลำดับของหินชนิดต่างๆ และลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหิน แล้วนำมาเปรียบเทียบทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า ธรณีกาล (geologic time) ดังภาพ 3.4 ก็จะสามารถบอกอายุของหอนที่เราศึกษาได้ว่าเป็นหินในยุคไหน หรือ ช่วงอายุ เป็นเท่าใด
อายุสัมบูรณ์ (absolute age) เป็นอายุหินหรือซากดึกดำบรรพ์ ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน การหาอายุสัมบูรณ์ใช้วิธีคำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหิน หรือซากดึกดำบรรพ์ที่ต้องการศึกษา ธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมนำมาหาอายุสัมบูรณ์ ได้แก่ ธาตุคาร์บอน-14 ธาตุโพแทสเซียม-40 ธาตุเรเดียม-226 ธาตุยูเรเนียม-238 เป็นต้น การหาอายุสัมบูรณ์มักใช้กับหินที่มีอายุมากเป็นแสนเป็นล้านปี เช่น หินแกรนิตบริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ซึ่งเคยเป็นหินต้นกำเนิดแร่ดีบุกมีอายุสัมบูรณ์ประมาณ 100 ล้านปี ส่วนตะกอนซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่า 50,000 ปี มักใช้วิธีกัมมันตรังสีคาร์บอน-14 เช่น ซากหอยนางรมที่วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีมีอายุประมาณ 5,500 ปี
ซากหอยนางรม ที่สะสมอยู่กับดินเหนียวทะเล และบางส่วนที่ถูกขุดขึ้นมาไว้บนพื้น
สำหรับนำไปสร้างเจดีย์ ที่วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุดแก้ว จังหวัดปทุมธานี
ซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เมื่อตายลงซากก็ถูก ทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินตะกอน นักธรณีวิทยา ใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานบอกกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของ พื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งสามารถบอกถึงสภาพแวดล้อมในอดีตว่าเป็นบนบก หรอในทะเล เป็นต้น นอกจากนั้นซากดึกดำบรรพ์ ยัง สามารถบอกช่วงอายุของหินชนิดอื่นที่เกิดอยู่ร่วมกับหินตะกอนเหล่านั้นได้ด้วย
ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (index fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอย่างเห็นได้ชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป ได้แก่ ไทรโลไบต์ แกรพโตไลต์ ฟิวซูลินิด เป็นต้น การพบซากดึกดำบรรพ์ไทโลไบต์ในหินทรายแดงที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ทำให้นักธรณี วิทยาบอกได้ว่าหินทรายแดงนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 570 – 505 ล้านปี หรือการพบซากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิดในหินปูน ที่บริเวณจังหวัดสระบุรี ก็ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่าหินปูนนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 286 – 245 ล้านปี เป็นต้น
ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในหินตะกอน ลักษณะที่ปรากฏเป็นซากซึ่งเดิมจะเป็นโครงร่างส่วนที่แข็งของ สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ โดยทั่วไปพืชและสัตว์จะเปลี่ยนสภาพเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้ต้องมีโครงร่างที่แข็ง เพราะสารละลายของ แร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ แคลไซต์ โดโลไมต์ ซิลิกา และสารประกอบเหล็กบางชนิด เช่น ฮีมาไทต์ แทรกซึมประสานเข้าไปใน ช่องว่างของซากสิ่งมีชีวิตนั้นได้ ทำให้ซากสิ่งมีชีวิตนั้นทนทานต่อการผุพัง กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ยังคงสภาพเกือบ เหมือนเดิมและถูกฝังในชั้นตะกอนทันที เพราะการฝังกลบอย่างรวดเร็วทำให้ซากสิ่งมีชีวิตสามารถชะลอการสลายตัว ซึ่ง วัสดุที่ฝังกลบซากขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้น เช่น ซากของสัตว์ทะเลเรามักจะพบมากกว่า สัตว์ชนิดอื่นเนื่องจากซากสัตว์จะจมลงสู่ท้องทะเล ถูกโคลนและตะกอนเม็ดละเอียดในน้ำสะสมตัวทับถมอยู่ตอนบน ตะกอน ละเอียดจะทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเสียหายน้อยที่สุด ดังนั้นซากดึกดำบรรพ์ที่เกิดในน้ำทะเล เช่น ในหินปูน หินดินดาน มักจะ เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ยังคงรูปได้สมบูรณ์ เช่น ซากดึกดำบรรพ์จำพวกหอยตะเกียงและปะการังในหินปูน
ประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์ทั้งที่เป็นสัตว์และพืชหลายชนิดในชั้นหินตามภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ไดโนเสาร์ซึ่งเป็น สัตว์เลื้อยคลาน พบครั้งแรกที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นไดโนเสาร์ประเภทเดินสี่เท้า กินพืชเป็นอาหาร คอและ หางยาว ได้รับการตั้งชื่อว่า “ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” ต่อมาพบไดโนเสาร์อีกหลายชนิดทั้งที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และที่จังหวัดชัยภูมิ สกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี และนครราชสีมา จะเห็นว่าแหล่งซากไดโนเสาร์ของ ประเทศไทยส่วนมากจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในชั้นหินทราย หินทรายแป้ง ซึ่งเป็นหินอยู่ในยุคไทรแอสสิก ตอนปลายถึงยุคครีเตเชียสตอนกลาง หรือตั้งแต่ 200 100 ล้านปีที่ผ่านมา ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นพืชที่เคยพบใน ประเทศไทย ได้แก่ ใบไม้ ละอองเรณู สปอร์ สาหร่ายทะเลและไม้กลายเป็นหิน เป็นต้น
นักธรณีวิทยาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ และจัดหมวดหมู่ตามอายุ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและสภาพ แวดล้อมตามกาลเวลาที่ค้นพบ จนในที่สุดสามารถสรุปเป็นตารางธรณีกาล
นอกจากนี้ร่องรอยบางอย่างของสิ่งมีชีวิตที่พิมพ์รอยอยู่ในตะกอนที่แข็งตัวเป็นหินก็เป็นซากดึกดำบรรพ์ได้ เช่น รอย เท้าของสัตว์ รอยเปลือกหอย เมื่อสัตว์เหล่านี้ทิ้งรอยซึ่งเปรียบเสมือนแม่พิมพ์ไว้ กาลเวลาต่อมาแร่ธาตุต่าง ๆ จะมาอุดรอย เหมือนหล่อแบบไว้ จึงกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ เช่น รอยเท้าไดโนเสาร์ที่ภูหลวง จังหวัดเลย และที่ภูแฝก จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น
จะเห็นว่าซากดึกดำบรรพ์เป็นส่วนที่เหลือของสัตว์และพืช ซึ่งส่วนมากจะกลายเป็นหิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมใน การเกิดซากนั้น เช่น ช้างแมมมอธที่ล้มตายลงในธารน้ำแข็งจะไม่กลายเป็นหิน ยังคงสภาพเดิมเพราะถูกแช่แข็งมานาน หรือซากแมลงที่ถูกอัดตามธรรมชาติอยู่ในยางไม้หรืออำพัน ถึงแม้จะไม่กลายเป็นหิน แต่ก็จัดเป็นซากดึกดำบรรพ์เช่นกัน หินตะกอนเป็นหินที่สามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ได้ดี หินภูเขาไฟบางชนิดก็อาจจะพบซากดึกดำบรรพ์ได้เช่นกันแต่ไม่ มากและโดเด่นเหมือนหินตะกอน
ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (index fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอย่างเห็นได้ชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป ได้แก่ ไทรโลไบต์ แกรพโตไลต์ ฟิวซูลินิด เป็นต้น การพบซากดึกดำบรรพ์ไทโลไบต์ในหินทรายแดงที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ทำให้นักธรณี วิทยาบอกได้ว่าหินทรายแดงนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 570 – 505 ล้านปี หรือการพบซากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิดในหินปูน ที่บริเวณจังหวัดสระบุรี ก็ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่าหินปูนนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 286 – 245 ล้านปี เป็นต้น
ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในหินตะกอน ลักษณะที่ปรากฏเป็นซากซึ่งเดิมจะเป็นโครงร่างส่วนที่แข็งของ สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ โดยทั่วไปพืชและสัตว์จะเปลี่ยนสภาพเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้ต้องมีโครงร่างที่แข็ง เพราะสารละลายของ แร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ แคลไซต์ โดโลไมต์ ซิลิกา และสารประกอบเหล็กบางชนิด เช่น ฮีมาไทต์ แทรกซึมประสานเข้าไปใน ช่องว่างของซากสิ่งมีชีวิตนั้นได้ ทำให้ซากสิ่งมีชีวิตนั้นทนทานต่อการผุพัง กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ยังคงสภาพเกือบ เหมือนเดิมและถูกฝังในชั้นตะกอนทันที เพราะการฝังกลบอย่างรวดเร็วทำให้ซากสิ่งมีชีวิตสามารถชะลอการสลายตัว ซึ่ง วัสดุที่ฝังกลบซากขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้น เช่น ซากของสัตว์ทะเลเรามักจะพบมากกว่า สัตว์ชนิดอื่นเนื่องจากซากสัตว์จะจมลงสู่ท้องทะเล ถูกโคลนและตะกอนเม็ดละเอียดในน้ำสะสมตัวทับถมอยู่ตอนบน ตะกอน ละเอียดจะทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเสียหายน้อยที่สุด ดังนั้นซากดึกดำบรรพ์ที่เกิดในน้ำทะเล เช่น ในหินปูน หินดินดาน มักจะ เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ยังคงรูปได้สมบูรณ์ เช่น ซากดึกดำบรรพ์จำพวกหอยตะเกียงและปะการังในหินปูน
ซากดึกดำบรรพ์ของปะการังในชั้นหินปูน พบที่อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี
ส่วนลำตัวและสะโพก ของซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ชนิดกินพืชที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
นอกจากนี้ร่องรอยบางอย่างของสิ่งมีชีวิตที่พิมพ์รอยอยู่ในตะกอนที่แข็งตัวเป็นหินก็เป็นซากดึกดำบรรพ์ได้ เช่น รอย เท้าของสัตว์ รอยเปลือกหอย เมื่อสัตว์เหล่านี้ทิ้งรอยซึ่งเปรียบเสมือนแม่พิมพ์ไว้ กาลเวลาต่อมาแร่ธาตุต่าง ๆ จะมาอุดรอย เหมือนหล่อแบบไว้ จึงกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ เช่น รอยเท้าไดโนเสาร์ที่ภูหลวง จังหวัดเลย และที่ภูแฝก จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น
ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบเทียบกับตารางธรณีกาล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น